วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

การพัฒนาชนบทด้าน "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" สมควรที่จะได้รับการพัฒนาให้เกิดการก้าวหน้าและทันสมัยหรือไม่??

1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน
2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย
3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม
4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ
6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ถ้าการ "พัฒนาชนบท" เป็นหน้าที่ของคุณ คุณคิดว่า...คุณจะพัฒนาด้านไหนก่อน??









วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ท่านคิดว่า "ข้อเสีย" ของการพัฒนาสังคมชนบทคืออะไร??

                  ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ ความยากจน และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่รุนแรงขึ้น ได้สร้างความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ความอ่อนแอของสังคมไทยที่ตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยม ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและปัญหาสังคมมากขึ้นด้วย




วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

ท่านคิดว่า "ข้อดี" ของการพัฒนาสังคมชนบทคืออะไร??


                  การพัฒนาชนบทของประเทศไทยเริ่มต้นมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ทว่าการพัฒนาในอดีตนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวชนบทอย่างแท้จริงเท่าไรนัก   เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมารัฐบาลพยายามจะพัฒนาชนบทโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อทำให้ชนบทมีความ ทันสมัยโดยเน้นที่การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น สร้างถนน ระบบไฟฟ้าและน้ำประปา ด้วยหวังจะให้ชนบทมีเหมือนกับที่เมืองมี กระนั้น การพัฒนาชนบทโดยการทำให้ทันสมัยนี้ แทนที่จะลดช่องว่างระหว่างชนบทกับเมืองลง กลับไปขยายช่องว่างนั้นให้กว้างขึ้น เพราะแนวทางดังกล่าวได้เปลี่ยนชนบทให้กลายเป็นแหล่งทรัพยากรราคาถูกให้เมืองได้ ดูดไปใช้อย่างสะดวก ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและแรงงาน ผลลัพธ์ก็คือตัวเมืองกลับเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าเดิม และทิ้งห่างชนบทมากขึ้นเรื่อยๆบทเรียนนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท






วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

การที่เราจะ" พัฒนาสังคมชนบท "ให้เจริญก้าวหน้าไปได้นั้น ท่านคิดว่าควรจะเป็นหน้าที่ของใคร ??

    ความรู้เบื้องต้นเรื่องการพัฒนาชุมชน

1. สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย (สพอ.) มีวัตถุประสงค์การทำงาน 3 ข้อคือ
            1. การช่วยเหลือประชาชน ข้าราชการและลูกจ้าง กทม. ผู้มีรายได้น้อยเกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการจัดการที่อยู่อาศัย
           2. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการจัดที่อยู่อาศัย
           3. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรอื่นของรัฐ องค์กรเอกชนในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการจัดการที่อยู่อาศัย

2. ปรัชญาของการพัฒนาชุมชน เป็นการคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บนพื้นฐานของความศรัทธา โดยเชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถ พลัง และพร้อมที่จะพัฒนาได้มีโอกาส

3. อุดมการณ์ในการพัฒนาชุมชน คือ การสร้างพลังชุมชนและใช้พลังชุมชนในการพัฒนา ซึ่งพลังชุมชนเหล่านี้ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของการพัฒนาให้กับชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
4. การพัฒนาชุมชน หมายถึง การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นทุกรูปแบบทุกด้านทั้งทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ อนามัยจิตใจ โดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนเอง หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนอย่างพึงปราถนา

5. การพัฒนาชุมชนเป็นกระบวนการ จะเน้นการพัฒนาอย่างมีระบบขั้นตอน โดยเริ่มจาก 1.สำรวจ 2.พิจารณา 3.จัดลำดับความสำคัญของปัญหา 4.วางแผน 5.ประเมินผลกิจกรรม
6. การพัฒนากระบวนการ เน้นขั้นตอนของการพัฒนาตั้งแต่การสำรวจชุมชนจนถึงการประเมินผลเพื่อดำเรินการต่อไป

7. การพัฒนาแบบวิธีการ เน้นการให้การศึกษา ฝึกอบรม ฝึกอาชีพ และนันทนาการ
8. การพัฒนาแบบโครงการหรือแผนงาน เน้นการจัดทำโครงการหรือแผนงานเป็นหลัก
9. การพัฒนาแบบขบวนการ เน้นทางด้านจิตใจ การสร้างอุดมการณ์ การมีส่วนร่วม และการเสียสละ
10. แนวคิดในการพัฒนาชุมชนที่ดีที่สุด คือการช่วยให้ประชาชนสามารถพึ่งตัวเองได้ แบบยั่งยืน
11. ประชาคมเมือง มีหลักการคือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา





วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

จริงหรือ ?? ที่ปัจจัยด้าน "การศึกษา" เป็นตัววัดการแบ่งแยกความเป็นชนบทและความเป็นเมือง

              ในทางสังคมวิทยาแบ่งชุมชนออกเป็น 2 แบบ คือ ชุมชนชนบท (Rural) และเมือง (Urban) และ        ราชบัณฑิตยสถาน (2524: 316,408) ได้ให้ความหมายของคำว่า ชนบทและเมืองไว้ดังนี้
             1.ชนบท หมายถึง ส่วนที่อยู่นอกเขตเมืองหรือเขตเทศบาล มีประชากรที่เลี้ยงชีพด้วยการเกษตรกรรมเป็นสำคัญ มีระเบียบสังคมที่สอดคล้องกับลักษณะชุมชนแบบหมู่บ้าน ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มก้อน หรือกระจัดกระจายตามลักษณะภูมิประเทศหรือตามประเพณีนิยม
              2.เมือง เป็นชุมชนแบบหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา ชุมชนเมือง ก่อน พ.ศ. 2453หมายถึงเขตที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 8,000 คนขึ้นไป แต่หลังจากปี พ.ศ. 2453 หมายถึงเขตที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 2,500 คนขึ้นไป ส่วนในประเทศไทยกำหนดให้เขตเทศบาล ที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป เป็นเขตเมือง